อ่าน "คำจีนสยาม" : หนังสือประวัติศาสตร์ภาษาที่น่าสนใจมาก อ่านเพลิน ได้ความรู้มากมาย

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมไม่ได้อัพเดทบทความการอ่านหนังสือ มานานเกือบ 1 ปี อันที่จริงแล้วก็ได้อ่านหนังสือเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก แต่เวลาที่จะพิมพ์มีน้อยลง จากหลายสาเหตุ รวมถึงการที่ได้มีโอกาสรับทุนเรียนปริญญาโท คณะสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการออกแบบภายใน ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วย ผมทิ้งการเรียนมานานจึงหนักสำหรับคนอายุ 40 ปี แต่เมื่อมาเรียนแล้วกลับชอบมาก จึงตั้งใจมากๆ ครับ

เข้าเรื่องดีกว่า คือผมได้ไปประชุมที่ ศูนย์เพื่อนไทยพีบีเอส สถานีไทยพีบีเอส เกี่ยวกับโครงการ Media Monitor และระบบฐานข้อมูลการแสดงความคิดเห็นของผู้ชม-ผู้ฟังไทยพีบีเอส แต่ผมไปก่อนเวลา จึงได้ไปแวะที่ห้องสมุด ซึ่งน่าเข้าอ่านมากๆ มีคอมพิวเตอร์+เน็ต ให้ใช้ด้วยครับ ตามองไปที่ชั้นหนังสือใหม่ แล้วก็ไม่ผิดหวัง ที่ตั้งใจว่าน่าจะเจอหนังสือดีๆ มองไปเห็น "คำจีนสยาม" จึงให้น้องผู้ช่วยรีบหยิบมาอ่าน เพลินมาก อ่านสนุก เป็นเนื้อหาถึงประวัติความเป็นมาของคำจีนที่ถูกใช้มาตั้งแต่อดีต และแทบจะอยู่ในชีวิตประจำวันของเราอย่างกลมกลืน

ดั่งคำกล่าวที่ว่า "การเรียนรู้ภาษา ต้องเรียนรู้วัฒนธรรม" ด้วย ผมว่าจริงแท้แน่นอน เพราะว่า หนังสือเล่มนี้ได้ท้าวความตั้งแต่สมัยมีการบันทึกถึงราชวงศ์แรกของจีน ราชวงศ์เซี่ย ซาง และโจว กว่า 4,500 ปีมาแล้ว เนื้อหาอิงประวัติศาสตร์อย่างมากให้เราจินตนาการตามไปว่า ในประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่อดีตมีสงครามมาตลอด และสงครามระหว่างชนชาตินี้ ทำให้มีการย้ายถิ่นฐานหนีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไปเรื่อยๆ วัฒนธรรม ภาษา ก็ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย มาเรื่อยๆ จนคนจีนมาใช้ชีวิตในประเทศสยาม

เนื้อหาในส่วนนี้ตั้งแต่เปิดอ่านจนถึงหน้าที่ 45 น่าติดตาม น่าสนใจ ตลอด อาจเป็นเพราะว่าผมชอบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ชาวฮั่นเหยียดหยาม ชนชาติ "หนาน" จึงเรียนชนชาติหนาน อย่างดูถูกเหยียดหยาม ซึ่งมีการอนุมานว่า คำว่า "หนาน" อาจจะเป็นที่มาของคำไทยว่า "มัน" เราจะใช้ "มัน" เมื่อเราเริ่มจะเรียกใครแบบดูถูกเหยียดหยามเช่นกัน เป็นต้น




ปกหน้าครับ


ปกหลังครับ





ลองเอาคำนำมาให้อ่านครับ

ผมว่าถ้าพอมีเวลา เพื่อนๆ คนไหนสนใจประวัติศาสตร์จีน หรือด้านภาษา น่าหามาอ่านนะครับ สนุกมากครับ เวลาเรารู้ความเป็นมาอะไรแล้ว เหมือนเราจะมีเกร็ดเกล็ดน้อยในสมอง เอาไว้เล่า หรือเล่นมุขได้เยอะมากขึ้นนะครับ หากได้อ่านแล้ว รู้สึกอย่างไรก็นำมาแบ่งปันได้นะครับ


พิมพ์เมื่อ 29 ธันวาคม 2555




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


บทความที่ได้รับความนิยม 10 อันดับแรกครับ