2020-01-29_บทความชุด "ฉันอ่าน" ตอนที่ 5 ชื่อว่า "เจ้าพระยา" มาจากไหน และการขุดคลองลัดอ้อมเกร็ด ลัดแม่น้ำเจ้าพระยา @ 29 มกราคม 2563

สวัสดีครับทุกท่าน ในตอนที่ 5 นี้ เรื่องแรกที่อยากแบ่งปัน คือ ที่มาของชื่อแม่น้ำ "เจ้าพระยา" ว่ามาจากไหน เนื่องจากระหว่างที่อ่านเรื่องการขุดคลองลัดอยู่นั้น ในเว็บไซต์มีข้อมูลที่แสดงค่อนข้างมากคือ การถกเถียงเรื่องชื่อของแม่น้ำเจ้าพระยา ว่ามีที่มาอย่างไร มีการกล่าวถึงเจ้าพระยา 4 ท่าน หรือเรียกว่า "สี่เจ้าพระยา" ก็ตกไปเพราะเป็นเรื่องแต่งขึ้นมา แต่ที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ วิธีการเรียกปากแม่น้ำที่ลงสู่ทะเล แล้วนำมาใช้เป็นชื่อเรียกของแม่น้ำแทน เช่น บริเวณทางออกของแม่น้ำบางปะกง เป็นอำเภอบางปะกง จึงเรียกว่า "แม่น้ำบางปะกง" หรือเช่นทุกวันที่ที่ใช้กันอยู่ คือ แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง

ส่วนของแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ปากทางออกทะเล ในอดีตเรียกว่า "บางเจ้าพระยา" จึงเรียก "ปากน้ำบางเจ้าพระยา" ปรากฎในสนธิสัญญาที่ไทยทำกับฝั่งเศษในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่มิสเตอร์ลาลูแบร์ เรียกแม่น้ำนี้ว่า "แม่น้ำบางเจ้าพระยา" และกลายเป็น "แม่น้ำเจ้าพระยา" เช่นทุกวันนี้ หลังจากที่ได้อ่านค้นคว้าเรื่อง การขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา มาสักระยะหนึ่ง ส่วนตัวพบเรื่องน่าสนใจเพิ่มมาอีก 3 เรื่อง ซึ่งหลังจบตอนนี้แล้ว ผมขอไปพิมพ์บทละคร "กด-หมาย" ต่อให้ครบอีก 4 ตอน (ตอนที่ 5-8) ซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีความที่ตัวผมถูกฟ้องศาล อันเนื่องจากออกมาเปิดโปงการโกงสิทธิ์คนพิการที่สร้างความเสียหายถึงปีละมากกว่า 1.5 พันล้านบาท จากนั้นผมจะกลับมาพิมพ์บทความเกี่ยวกับ "การค้าและการเงิน" ของสมัยโบราณ เพราะยิ่งอ่านยิ่งค้นยิ่งน่าสนใจครับ

กลับมาที่การขุดคลองครั้งที่ 4-5 ในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเดินของแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับผมที่อ่านมาหลายบทความ และเห็นประจักษ์เชิงกายภาพ เราจะพบว่า การขุดคลองครั้งที่ 4 ในสมัยพระเจ้าท้ายสระ คือ การขุด "คลองลัดอ้อมเกร็ด" และการขุด "คลองลัดโพธิ์" ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 กลับให้มีการถมคลองลัดโพธิ์ เนื่องจากมีการกัดเซาะของแม่น้ำจนขยายคววามกว้างของคลองเพิ่มมากขึ้น จนถึงปัจจุบันที่ในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ท่านทรงทำเป็น "ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์"

ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณคลองอ้อมเกร็ด
ส่วนตัวนั้นเห็นว่า ชัดเจนมากว่าเป็นเรื่องของ "น้ำเค็ม"  จากทะเลที่ดันขึ้นไปด้านบนถึงจังหวัดปทุมธานี ส่งผลกระทบกับระบบเกษตรกรรมในอดีต เพราะปัจจุบันเรายังคงประสบปัญหาเรื่องนี้อยู่ ที่ทราบเรื่องนี้เพราะว่า บริเวณลำน้ำเจ้าพระยาช่วงกระทรวงพาณิชย์ มีนิคมน้ำแข็งซึ่งต้องใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยามาผลิตเป็นน้ำแข็งชนิดต่างๆ อยู่เกือบ 20 โรงงาน มักประสบปัญหาเรื่องน้ำกร่อยในช่วงหน้าแล้งของทุกปีที่น้ำเค็มหนุนขึ้นมา ตรงนี้เหตุผลโดยรวมส่วนหนึ่งอาจเกิดจากในอดีตมีการขุดคลองลัดหลายคลอง จนน้ำเค็มสามารถหนุนขึ้นมาได้สูงและเร็วขึ้น ได้อย่างเสียอย่างเป็นธรรมดา เพราะในอดีตการค้าขายที่ต้องล่องเรือไปถึงพระนครกรุงศรีอยุธยา ต้องพยายามให่ร่นระยะทางใช้เวลาให้น้อยที่สุด

ระหว่างอ่านค้นคว้า พบว่ามีการตั้งกระทู้กันเรื่อง ทำไมคลองลัดเกาะเกร็ด ถึงไม่ขยาย และแม่น้ำสายเก่าไม่ตื้นเขิน ซึ่งผมอ่านแล้วเห็นว่าน่าสนใจจึงนำมาแบ่งปันในบทความนี้ โดยภาพรวมวิเคราะห์กันไว้ว่า ในสมัยพระเจ้าท้ายสระ การขุดคลองอ้อมเกร็ด แนวการขุดเลยระยะทางตรงของกระแสน้ำไปแล้ว ทำให้กระแสน้ำยังคงไหลไปในทิศทางเดิม กระแสน้ำจึงไม่กัดเซาะแรงจนเปิดแนวคลองให้กว้างกลายเป็นแม่น้ำแทน อีกทั้งระยะทางที่แม่น้ำสายเก่าอ้อม ก็ไม่ไกลเกินไป ต่างจากคลองขุดอื่นๆ ที่ลัดระยะทางยาวพอสมควร สุดท้ายอีกเหตุผลหนึ่งที่มีการให้เหตุผลกันไว้คือ เรื่องของระยะเวลาที่ผ่านมา การขุดคลองอ้้อมเกร็ดและคลองลัดโพธิ์ ที่มีเวลาห่างกันมากกว่า 100 ปี หรือสื่อความหมายว่า อีก 100 ปีข้างหน้า บริเวณคลองลัดอ้อมเกร็ดก็จะมีขนาดความกว้าง ค่อยๆ กว้างขึ้นเอง

ทิศทางไหลของแม่น้ำเปรียบเทียบกับแนวขุดคลองลัดอ้อมเกร็ด

บริเวณคลองลัดโพธิ์ ที่ปัจุบันเป็นประตูระบายน้ำ ตามพระราชดำริของรัชกาลที่ 9

สำหรับคลองลัดโพธิ์ มีระบบประตูระบายน้ำ ซึ่งรัชกาลที่ 9 ของเราทุกคนท่านมีดำริให้ปรับคลองลัดโพธิ์เป็นประตูระบายน้ำ ตรงนี้สุดยอดมากๆ ครับ ดังนั้นคงหมดคำถามกับคลองขุดนี้ไปเลยครับ ยังแอบนึกไปเล่นๆ ว่า หากหลลายๆ จุดของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ในอดีตเคยเป็นเส้นทางเก่า แล้วมีการทำประตูน้ำแบบคลองลัดโพธิ์ ผมคิดว่าจะมีประโยชน์หลายอย่างเช่น การระบายน้ำสะอาดเข้าคลองอ้อมต่างๆ ไปยังคูคลองต่างๆ หรือการแก้ปัญหาเรื่องน้ำเค็มดันขึ้นสูในช่วงหน้าแล้ว เพราะเดิมธรรมชาติก็มีทั้งวิธีหน่วงน้ำ และรักษาสมดุลลน้ำในตัวอยู่แล้ว หากจะเร่งหรือฝืนธรรมชาติ ก็น่าจะสามารถควบคุมได้ เช่น "โครงการพระราชดำริ คลองลัดโพธิ์" ที่ทั้งง่ายแต่เคารพธรรมชาติ ของรัชกาลที่ 9 ครับ

ครบแล้วครับการบทความของคลองลัดทั้ง 5 คลองที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนเส้นทางเดิมของแม่น้ำเจ้าพระยา
  • ครั้งที่ 1 การขุด "คลองลัดบางกอก" กว่า 500 ปี ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
  • ครั้งที่ 2 การขุด "คลองลัดเกร็ดใหญ่" กว่า 450 ปี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
  • ครั้งที่ 3 การขุด "คลองลัดเมืองนนท์" กว่า 400 ปี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
  • ครั้งที่ 4 การขุด "คลองลัดเกร็ดน้อย" กว่า 300 ปี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
  • ครั้งที่ 5 การขุด "คลองลัดโพธิ์" กว่า 300 ปี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

ถึงแม้ว่า คลองลัดเกร็ดน้อย จะมีความแตกต่างจากคลองลัดในอดีตที่ไม่ไดด้เกิดปรากฎการณ์ขยายความกว้างของคลองจนใหญ่เท่าแม่น้ำ แต่ก็เป็นเส้นทางที่นิยมใช้แทนแม่น้ำสายเก่าไปแล้วเรียบร้อยโรงเรียนเกาะเกร็ดไป ส่วนคลองลัดโพธิ์ก็พิเศษตรงกลายเป็นคลองลัดที่มีประตูระบายน้ำที่มีการควบคุมการปิด-เปิด แทน

สำหรับตอนที่ 6 เป็นต้นไปนั้น ผมจะนำเรื่องที่ได้อ่านแล้วสนใจมาแบ่งปันนะครับ เรื่องการค้า-การเงิน ในอดีตของอาณาจักรไทยครับ

พิมพ์เมื่อ 29 มกราคม 2563


ข้อมูลอ้างอิง:

ภาพถ่ายแม่น้ำเจ้าพระยา:

1 ความคิดเห็น:


บทความที่ได้รับความนิยม 10 อันดับแรกครับ