2020-01-16_บทความชุด "ฉันอ่าน" ตอนที่ 3 การขุดคลองลัดบางกอก ลัดแม่น้ำเจ้าพระยา @ 16 มกราคม 2563

สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับตอนที่ 3 นี้ ผมอยากลงรายละเอียดของต้นเหตุของการขุดคลองอีกสักนิด (ส่วนแนวคิดการเขียนบทความชุด "ฉันอ่าน" และภาพรวมใหญ่ของการขุดคลองที่มีผลต่อการเปลี่ยนเส้นทางการเดินของแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถอ่านย้อนหลังได้) เมื่อปี พ.ศ.2065 ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้มีการขุดคลองลัดบางกอก (ใรปัจจุบันคือ บริเวณปากคลองบางกอกน้อย เชื่อมทะลุปากคลองบางกอกใหญ่) หรือกว่า 500 ปีผ่านมาแล้ว อีก 16 ปีต่อมา (พ.ศ.2081) ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ทรงให้มีการขุดคลองลัด เชื่อมคลองบางกรวยบริเวณวัดชลอตัดตรงเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ลดบททบาทลงไม่ได้เปลี่ยนเส้นทางเดินของแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากอีก 100 ปีต่อมา (พ.ศ.2179) หรือกว่า 400 ปีก่อน ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงให้ขุดคลองลัดออมนนท์

กลับมาที่การขุดคลอง 2 ครั้งแรก คือ คลองลัดบางกอก กับคลองลัดบางกรวย (ผู้พิมพ์นิยามเอง) เมื่อ 500 ปีก่อนนั้น ปรากฎในบันทึกของชาวยุโรป ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม (ก่อนหน้าพระเจ้าปราสาททอง 20 ปี) ว่ามีเรือสำเภามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาถึงปีละ 1,000 ลำ ผมหลับตานึกภาพตาม ว่าคงมีเรือสำเภามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาไม่ขาด ไม่เว้นวัน การเดินทางจากปากอ่าวถึงพระนครใช้เวลาถึง 15 วัน หมายความว่า แม้ว่าจะมีคลองลัดบางกอกแล้ว คลองลัดบางกรวยแล้ว ก็ยังคงต้องใช้เวลาเดินทางถึง 15 วัน (ข้อมูล: คุณโรม บุนนาค) ทำให้ภาพย้อนอดีตออกเลยว่า ก่อนหน้าขุดคลองลัดทั้ง 2 ครั้ง เรือสำเภาอาจเดินทางถึง 18-20 วันได้


ตำแหน่งหมายเลข 1 คือบริเวณการขุดคลองลัดบางกอก ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
ในปี พ.ศ.2065 หรือกว่า 500 ปีผ่านมาแล้ว ด้วยเหตุผลสำคัญทางการค้า ให้เดินทางสั้นลง

"คลองลัดบางกอก" คลองนี้นั้นต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี - กรุงรัตนโกสินทร์ หลังขุดคลองลัดบางกอกไปแล้วถึง 250 ปี กลับมามีความสำคัญในการสร้างเมืองทั้ง 2 ยุค เพราะกรุงธนุรีตั้งอยู่ทางซ้าย (ฝั่งตะวันตก) ของบริเวณคลองลัดบางกอก และพระนครของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ปัจจุบันเรียก "เกาะรัตนโกสินทร์" ตั้งอยู่ทางขวา (ฝั่งตะวันออก) ของคลองลัดบางกอก ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสายน้ำเจ้าพระยา ที่มีความงดงามยิ่ง สำหรับเฉพาะเรื่องนี้สามารถเขียนเพิ่มเติมได้อีก 1 ตอนครับ

บริเวณขุดคลองลัดบางกอกที่ตั้งกรุงธนบุรี และเกาะเมืองกรุงรัตนโกสินทร์


แม้ว่าประวัติการขุดคลองลัดเกร็ดใหญ่ จะไม่มีในบันทึกมากนัก แต่มีการขุดคลองลัดนี้ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ก็มีเหตุผลอันสมควรอันเนื่องจากก่อนหน้าสมัยพระเจ้าทรงธรรมีมการขุดคลองลัดแล้วถึง 2 บริเวณ ผู้พิมพ์จึงถือว่า การขุดคลองลัดเกร็ดใหญ่ ซึ่งก็คือบริเวณที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมืองปทุมธานี หรือบริเวณปากคลองบ้านพร้าว จ.ปทุมธานี ในปัจจุบัน เป็นการขุดคลองสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนเส้นทางเดินของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงแม้ว่าในเว็บข้อมูลแม่น้ำเจ้าพระยาในวิกิพีเดียจะไม่กล่าวถึงการขุดคลองเกร็ดใหญ่ก็ตาม สำหรับเรื่องเมืองปทุมธานีนี้น่าสนใจมากมีประวัติเก่าแก่ยาวนานเช่นกัน แต่ก็ไม่เก่ามากประมาณสัก 400-500 ปี ผู้พิมพ์ขอสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากพิมพ์เรื่องการขุดคลองลัดให้จบเสียก่นอน ยังมีเรื่องน่าสนใจอีกเช่น เมื่อ 1 พันปีก่อนนั้น อ่าวไทยของเราขึ้นไปสูงถึง จ.สระบุรี จ.สุพรรณบุรี ทำให้ไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ประวัติศาสตร์ของ กรุงศรีอยุธยาถึงมีเพียง 500 - 700 ปีเท่านั้น หรือ จ.นครปฐม มีประวัติศาสตร์ถึงพันปี เพราะตามแผนที่โบราณ เท่ากับ จ.นครปฐมจะมีพื้นที่ติดกับทะเล

ในตอนที่ 2 นี้ ผมก็ได้เล่าเรื่องคลองขุดไปแล้ว 2 ครั้งคือ
  • ครั้งที่ 1 การขุด "คลองลัดบางกอก" กว่า 500 ปี ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
  • ครั้งที่ 2 การขุด "คลองลัดเกร็ดใหญ่" กว่า 450 ปี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

ยิ่งอ่าน ยิ่งค้น ยิ่งน่าสนใจ สำหรับตอนที่ 4 "การขุดคลองลัดเมืองนนท์" ซึ่งเป็นการขุดคลองลัด ครั้งที่ 3 ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนเส้นทางเดินน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา พ่วงด้วยประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครับ

พิมพ์เมื่อ 16 มกราคม 2563


ข้อมูลอ้างอิง:

ภาพถ่ายแม่น้ำเจ้าพระยา:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


บทความที่ได้รับความนิยม 10 อันดับแรกครับ