สวัสดีครับเพื่อนๆ คงต้องเริ่มจากเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2556 ผมได้ไปงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ตามคำชักชวนของพี่กุล หรือ คุณศณพงษ์ ธงไชย ที่ได้รู้จักกันสักระยะหนึ่งแล้ว เวลาที่พูดคุยกับพี่กุล แล้วจะเพลินมาก หมายถึง ผมมีความรู้สึกว่า เวลาพูดคุยด้วยแล้วเราได้รับความรู้ ความคิดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ในคำพูด หรือเราสามารถคิดต่อยอดจากคำพูด จากการคิดตามได้ตลอดเวลา ดังนั้นหากได้คุยกันแล้ว จะเจอหน้าพบกันก็ดี หรือคุยทางโทรศัพท์ ก็จะใช้เวลานานมาก
เมื่อทราบว่าพี่กุล เขียนหนังสือ แว๊บแรก คืออยากอ่าน จริงๆ แล้ว ในช่วงที่พี่กุลชวน เป็นช่วงที่ผมต้องส่งการบ้านที่เรียนปริญญาโท ซึ่งเดิมเคยวางแผนไว้ว่าจะทำให้เสร็จภายในวันที่ 5 เม.ย.56 แต่พอทำเข้าจริงๆ แล้วการทำ Feasibility Study สักเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จึงมีการขอเลื่อนส่งเป็นวันที่ 10 เม.ย.56 ถึงแม้จะกำลังขมักเขม้นกับการทำรายงานส่งอาจารย์ ก็ตั้งใจว่าต้องไปพบพี่กุล ให้ได้
ไปถึงพี่กุล ไม่ค่อยว่างเท่าไหร่ เพราะว่าเด็กๆ รุมที่บูธตลอด ประกอบกับเป็นงานสัปดาห์หนังสือด้วย คนเยอะมากๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ตัวผมเองเวลาผ่านบูธ ต้องตัดใจไม่มอง บอกตัวเองว่า "รีบนะต้องรีบกลับบ้าน ไม่เอาไม่เอา" คือ เวลาผมเจอบูธหนังสือ ร้านหนังสือ ผมจะต้องใช้เวลาอยู่นานๆ ประมาณว่าไม่รู้ตัวก็ 2 ชั่วโมง / ต้องรีบกลับบ้าน ไปทำการบ้านก่อน เอาไว้วางแผนชีวิตดีๆ แล้วค่อยมาใหม่ แต่สิ่งที่ไม่ลืมคือ เก็บโบว์ชัวร์ที่แจกตรงจุดประชาสัมพันธ์มาทั้งหมด หากมาดูทีหลังแล้วน่าสนใจ ผมคงติดต่อไปวันหลัง
กลับมาที่บูะพี่กุล พอผมสวัสดีพี่กุล พี่กุลยื่นหนังสือให้ แล้วพี่กุลก็ต้องรีบกลับไปที่บูธ ระหว่างที่รอผมอ่านจากด้านหน้าไป 19 หน้า และอ่านจากด้านหลัง 11 หน้า แล้วก็ได้คุยกับพี่กุล รวดเดียวไม่นาน ผมก็ขอตัวกลับ ส่วนพี่กุลก็ต้องไปดูที่บูธ บทความนี้อาจจะแตกต่างจากบทความที่ผ่านมาที่ผมอยากบอกเพื่อนๆ ว่า พี่กุล เป็นอีกคนที่ผมคุยด้วยแล้ว รู้สึกถึงความเป็นมิตร แล้วการให้ พี่กุลจริงใจกับการให้ความรู้ทุกคน ดังนั้น หนังสือ "คิดค้นไว" จึงมีความรู้สึกเหล่านั้นไปด้วย
ที่สำคัญคือ หนังสือเล่มนี้อ่านง่าย ใช้ภาษาง่ายๆ ผมแนะนำไม่ถูกว่าควรอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างไร กับคนที่อ่านหนังสือมากๆ บ่อยๆ จะมีเทคนิคหนึ่งคือ "การอ่านไว" ผมหมายถึงการอ่านไปที่ตัวหนังสือเลยนะครับ ไม่ใช่การเปิดผ่านแบบ "Scan หนังสือ" หรือ "Survey หนังสือ" เพราะสำหรับผมแล้ว ตอนที่อ่านไว "คิดค้นไว" นั้นผมพอจะเข้าใจ หลายเรื่องก็เคยรับรู้จากการอ่านหนังสือพิมพ์ หรือหนังสือมาบ้าง ผมหมายถึงหนังสือเล่มนี้เอาเนื้อหาแบบเนื้อๆ เป็นเหมือสรุปเนื้อหาจากเรื่องรอบตัวก็ว่าได้ ดังนั้นสำหรับบางคน อาจจะอ่านแล้วงงๆ อาจต้องขยายความเอาเองอีกนิด คืออ่านไปแล้วก็คิดตามไปด้วย ซึ่งผมแนะนำว่า หากเราต้องการรู้อะไรเพิ่มเติมสามารถค้นจากอินเตอร์เน็ต กับอากู๋ Google ได้
ดังนั้นแล้วหนังสือ "คิดค้นไว" หากพิจารณา เหมือนหนังสือย่อเรื่องราวให้เราอ่าน แล้วถ้าเราสนใจก็ค้นคว้าเพิ่ม จึงเป็นหมือนหนังสือเล่มเล็ก ที่ซ่อนหนังสือเล่มใหญ่เอาไว้อีกมากมาย ขึ้นกับความต้องการของผู้อ่านที่อยากจะใส่ความรู้เข้าตัวเอง ผมขอยกตัวอย่างหน้าที่ 48 ละกันนะครับ (คือผมชอบให้ผู้เขียน ช่วยเซ็นต์ที่หน้า 48 ครับ) เป็นเนื้อหาต่อเนื่องของ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ ที่ผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้ หรือแม้แต่ไม่เคยสนใจด้วยซ้ำ
แต่หนังสือเล่มนี้ ยังมีมุมความรู้ที่สำคัญ มากกว่าเป็นหนังสือที่ย่อความรู้ ที่คนไทยควรรู้มาอยู่ในมือของคุณแล้ว อยู่อีกเรื่องที่ผมคิดว่า พี่กุล ต้องการให้คนไทยรับรู้ แต่คิดให้ได้ มันเป็นเรื่องที่ชาติที่พัฒนากว่าประเทศไทย เขาให้ความสำคัญกัน มีการส่งเสริมให้เยาวชนในชาติเรียนรู้ แล้วผมจะมาอัพเดทให้เพื่อนๆ อ่านกันในตอนที่ 2 แต่หากใครอดใจไม่ไหว ลองไปหาซื้อที่ร้านหนังสือกันนะครับ แนะนำเลยละกันครับ
แล้วพบกันกับตอน 2 ครับ
เมื่อทราบว่าพี่กุล เขียนหนังสือ แว๊บแรก คืออยากอ่าน จริงๆ แล้ว ในช่วงที่พี่กุลชวน เป็นช่วงที่ผมต้องส่งการบ้านที่เรียนปริญญาโท ซึ่งเดิมเคยวางแผนไว้ว่าจะทำให้เสร็จภายในวันที่ 5 เม.ย.56 แต่พอทำเข้าจริงๆ แล้วการทำ Feasibility Study สักเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จึงมีการขอเลื่อนส่งเป็นวันที่ 10 เม.ย.56 ถึงแม้จะกำลังขมักเขม้นกับการทำรายงานส่งอาจารย์ ก็ตั้งใจว่าต้องไปพบพี่กุล ให้ได้
ไปถึงพี่กุล ไม่ค่อยว่างเท่าไหร่ เพราะว่าเด็กๆ รุมที่บูธตลอด ประกอบกับเป็นงานสัปดาห์หนังสือด้วย คนเยอะมากๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ตัวผมเองเวลาผ่านบูธ ต้องตัดใจไม่มอง บอกตัวเองว่า "รีบนะต้องรีบกลับบ้าน ไม่เอาไม่เอา" คือ เวลาผมเจอบูธหนังสือ ร้านหนังสือ ผมจะต้องใช้เวลาอยู่นานๆ ประมาณว่าไม่รู้ตัวก็ 2 ชั่วโมง / ต้องรีบกลับบ้าน ไปทำการบ้านก่อน เอาไว้วางแผนชีวิตดีๆ แล้วค่อยมาใหม่ แต่สิ่งที่ไม่ลืมคือ เก็บโบว์ชัวร์ที่แจกตรงจุดประชาสัมพันธ์มาทั้งหมด หากมาดูทีหลังแล้วน่าสนใจ ผมคงติดต่อไปวันหลัง
กลับมาที่บูะพี่กุล พอผมสวัสดีพี่กุล พี่กุลยื่นหนังสือให้ แล้วพี่กุลก็ต้องรีบกลับไปที่บูธ ระหว่างที่รอผมอ่านจากด้านหน้าไป 19 หน้า และอ่านจากด้านหลัง 11 หน้า แล้วก็ได้คุยกับพี่กุล รวดเดียวไม่นาน ผมก็ขอตัวกลับ ส่วนพี่กุลก็ต้องไปดูที่บูธ บทความนี้อาจจะแตกต่างจากบทความที่ผ่านมาที่ผมอยากบอกเพื่อนๆ ว่า พี่กุล เป็นอีกคนที่ผมคุยด้วยแล้ว รู้สึกถึงความเป็นมิตร แล้วการให้ พี่กุลจริงใจกับการให้ความรู้ทุกคน ดังนั้น หนังสือ "คิดค้นไว" จึงมีความรู้สึกเหล่านั้นไปด้วย
ที่สำคัญคือ หนังสือเล่มนี้อ่านง่าย ใช้ภาษาง่ายๆ ผมแนะนำไม่ถูกว่าควรอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างไร กับคนที่อ่านหนังสือมากๆ บ่อยๆ จะมีเทคนิคหนึ่งคือ "การอ่านไว" ผมหมายถึงการอ่านไปที่ตัวหนังสือเลยนะครับ ไม่ใช่การเปิดผ่านแบบ "Scan หนังสือ" หรือ "Survey หนังสือ" เพราะสำหรับผมแล้ว ตอนที่อ่านไว "คิดค้นไว" นั้นผมพอจะเข้าใจ หลายเรื่องก็เคยรับรู้จากการอ่านหนังสือพิมพ์ หรือหนังสือมาบ้าง ผมหมายถึงหนังสือเล่มนี้เอาเนื้อหาแบบเนื้อๆ เป็นเหมือสรุปเนื้อหาจากเรื่องรอบตัวก็ว่าได้ ดังนั้นสำหรับบางคน อาจจะอ่านแล้วงงๆ อาจต้องขยายความเอาเองอีกนิด คืออ่านไปแล้วก็คิดตามไปด้วย ซึ่งผมแนะนำว่า หากเราต้องการรู้อะไรเพิ่มเติมสามารถค้นจากอินเตอร์เน็ต กับอากู๋ Google ได้
ดังนั้นแล้วหนังสือ "คิดค้นไว" หากพิจารณา เหมือนหนังสือย่อเรื่องราวให้เราอ่าน แล้วถ้าเราสนใจก็ค้นคว้าเพิ่ม จึงเป็นหมือนหนังสือเล่มเล็ก ที่ซ่อนหนังสือเล่มใหญ่เอาไว้อีกมากมาย ขึ้นกับความต้องการของผู้อ่านที่อยากจะใส่ความรู้เข้าตัวเอง ผมขอยกตัวอย่างหน้าที่ 48 ละกันนะครับ (คือผมชอบให้ผู้เขียน ช่วยเซ็นต์ที่หน้า 48 ครับ) เป็นเนื้อหาต่อเนื่องของ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ ที่ผมคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้ หรือแม้แต่ไม่เคยสนใจด้วยซ้ำ
แต่หนังสือเล่มนี้ ยังมีมุมความรู้ที่สำคัญ มากกว่าเป็นหนังสือที่ย่อความรู้ ที่คนไทยควรรู้มาอยู่ในมือของคุณแล้ว อยู่อีกเรื่องที่ผมคิดว่า พี่กุล ต้องการให้คนไทยรับรู้ แต่คิดให้ได้ มันเป็นเรื่องที่ชาติที่พัฒนากว่าประเทศไทย เขาให้ความสำคัญกัน มีการส่งเสริมให้เยาวชนในชาติเรียนรู้ แล้วผมจะมาอัพเดทให้เพื่อนๆ อ่านกันในตอนที่ 2 แต่หากใครอดใจไม่ไหว ลองไปหาซื้อที่ร้านหนังสือกันนะครับ แนะนำเลยละกันครับ
- บ.มิลเลนเนียม มายด์ จก. 02-981-0247, 02-981-1242
- บ.ดวงกมลสมัย จก. 02-541-7375-6, 02-930-6215-8
แล้วพบกันกับตอน 2 ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น