2020-02-10_บทความชุด "ฉันอ่าน" ตอนที่ 6 นั่งดูรางวัลออสการ์ หนังเรื่อง Parasite ที่ได้รางวัล 3 ออสการ์เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าฟุ้งซ่านถึงสกุลเงินไทยในสมัยโบราณ @ 10 กุมภาพันธ์ 2563

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เป็นวันหยุดชดเชยวันมาฆะบูชา ตรงกับวันประกาศผลรางวัลออสการ์ แน่นอนว่าแอบปลื้มว่า คุณแก้ม ได้มาร้องเพลง FROZEN 2 ภาคภาษาไทย (https://www.youtube.com/watch?v=wEXxXiJRm7I) จากทั้งหมด 10 ภาษาด้วย บวกกับทึ่งที่หนังเรื่อง Parasite จากเกาหลีได้ถึง 4 รางวัลออสการ์ ทั้ง "ภาษาไทย" ทั้งการสื่อความหมายของ 2 ครอบครัวจากหนังเรื่อง Parasite ที่แสดงถึงการแบ่งชั้นวรรณะในสังคมเกหลี (https://www.youtube.com/watch?v=Y2XkgNlmTMQ) ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างแทบจะเหมือนกันทุกชนชาติในอดีตสืบทอดต่อมาถึงปัจจุบัน เชื่อมโยงกับในสมองที่กำลังสนใจเรื่องความสัมพันธ์ของ จีน-ไทย-พม่า พอเขย่ารวมกันในสมอง จึงออกมาเป็นบทความ "ฉันอ่าน" ตอนที่ 6 นี้ครับ

บทความนี้สำหรับผมแล้ว พิเศษหน่อยนะครับ เพราะจะเรียกว่า บทความฟุ้งซ่านก็ว่าได้ เพราะเฉพาะวันนี้วันเดียวผมต้องทำงานให้เสร็จถึง 3 งานครับ จึงจะขอสื่อสารแบบไร้รูปแบบนิดหน่อย ถึงความฟุ้งซ้าน แลลเป็นข้อๆ แทนนะครับ
  • ในอดีตย้อนหลังไป 1,000 ปี คาดว่าบริเวณตั้งแต่นครสวรรค์ลงมา น่าจะยังเป็นทะเลอยู่ ซึ่งจะตรงกับประวัติศาสตร์โลกที่โลกยังมีอุณหภูมิที่สูงอยู่ แน่นอนว่าช่วงนั้นยังไม่กำเนิดกรุงศรีอยุธยา ในประวัติศาสตร์ไทย
  • ในภาพยนตร์ที่ผมชอบดู ผมดูซ้ำมากกว่า 10 รอบ เพราะมีเรื่องราวซ่อนอยู่ ชื่อว่า "คนไททิ้งแผ่นดิน" สร้างเมื่อปี พ.ศ.2553 (2010) https://www.youtube.com/watch?v=0MptEGzy-3g ผมแนะนำลองดูตั้งแต่ต้นจนจบไม่กระโดดนะครับ ตอนจบจะทราบว่า คนไทยอพยพหนีการหยียดชนชั้นตั้งแต่เมื่อ 1 พันปีก่อน ก่อนที่จะมีราชวงศ์สุโขทัย ตรงกับราชวงศ์ของจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และในบันทึกจดหมายเหตุ "ฝันฉัว" สมัยพระเจ้าอี้จง ราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึง "บันทึกเรื่องราวของถิ่นหกเจ้า" ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน ตรงกันกับในหนังเรื่อง "คนไททิ้งแผ่นดิน" โดยเราเรียกรวมๆ ชนเผ่าทางใต้ของจีนว่า "ชาวหมาน"
  • เมื่อ 7 ปีก่อน ผมเคยเขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งประกอบการบ้านขณะเรียนปริญญาโท ได้กล่าวถึงการใช้คำไทยโบราณ ที่เราใช้จนถึงปัจจุบัน ก็คือคำว่า "มัน" ที่เป็นภาษาโบราณที่แสดงถึงการเหยียดชนชั้น ที่นักภาษาศาสตร์คาดว่า เป็นร่องรอยการแบ่งชนชั้นวรรณะที่ ชาวฮั่น เรียกชนเผ่า "หมาน" ทางตอนใต้ของจีนว่า "พวกหมาน" หรือรู้กันว่าต่อมาคือ ชาวแมนจู นั่นเอง และยังรวมถึงชนเผ่าต่างๆ 6 แคว้นที่ปกครองตนเอง ซึ่งคาดว่าก็คือ พวกเรากลุ่มประเทศอาเซียนในแผ่นดินใหญ่นี่ละ เช่น พม่า ไทย ยูนาน ลาว เขมร เป็นต้น ในอดีต พม่า ยีงมีอีกหลายชนชาติ เช่น มอญ ญวน ไทใหญ่ เป็นต้น และมีความสามารถในการรบมาก จนราชวงศ์ต่างๆ ของจีนไม่ค่อยอยากจะลงมาต่อสู้สักเท่าไหร่


ภาพการขยายอาณาเขตปกครองสมัยราชวงศ์ถังเมื่อ 1 พันปีก่อน
ที่ปรากฎไม่มีอาณาเขตบริเวณ พม่า ล้านนา ยูนาน ไทย ลาว ในปัจจุบัน
แต่การขยายอาณาเขตยังรวมถึงประเทศเวียดนามในปัจจุบัน
เมืองโบราณของเวียดนามมีอายุเป็นพันปีในปัจจุบัน

ผมเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง แปลเป็นไทยว่า "เจริญสู่ความหายนะ" อ่านแล้วสนุก เป็นภาพรวมของโลกและมนุษย์โลก ซึ่งก็เป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ จินตนาการไปตามตัวหนังสือ แต่ในช่วงใกล้ๆ นี้ ผมกลับสนใจระบบการเงินของไทย เพราะวิวัฒนาการด้านการเงินของแต่ละประเทศจะมีความน่าสนใจเป็นทุนเดิม ผมคิดว่า พัฒนาการทางด้านดารเงินนั้นจะพาเราย้อนอดีตให้เรารู้ไปถึง ระบบการเมือง การปกครอง ของไทยในอดีต เพราะเรามีทั้งภาษา เลขนับ และระบบการเงิน ของเราเอง แน่นอนว่าแสดงถึงความเป็น "รัฐ" ที่ปกครองตนเอง และยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคมาตั้งแต่อดีต ถึงแม้ว่าประวัติศาสตร์ของเราจะเริ่มต้นจากสมัยสุโขทัยก็ตาม และในท้ายที่สุดผมเชื่อว่า ระบบการเงิน จะยังเป็นตัวแสดงผลถึงประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติที่มีรอบวิวัฒนาการ รอบละ 20,000 ปี ก่อนที่ระบบทุกระบบจะล่มสลายลง

มาถึงตรงนี้คำว่า "ระบบล่มสลาย" ทำให้ผมนึกถึง คุณตฤณ ตัณฑเศรษฐี อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (ไอเน็ต) ที่ปลีกตัวไปทำงานเพื่อสังคมกว่า 10 ปี ที่เมื่อ 2 เดือนก่อนผมกับภรรยาไปเยี่ยมคุณตฤณ ที่บุรีรัมย์ มีข้อเท็จจริงที่คุณตฤณ มองต่างจากที่คนส่วนใหญ่มอง กับประโยคที่ว่า "ไม่ใช่แค่ภัยพิบัติที่เราต้องอยู่รอด เมื่อทุกอย่างล่มสลาย ก็ต้องอยู่รอดได้" เพราะที่บ้านคุณตฤณ มีทั้งไฟฟ้า และน้ำสะอาด ที่ผลิตขึ้นเองโดยไม่ต้องพึ่งใคร

ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นครับ แม้ว่าในโลกปัจจุบันที่เราอยู่นั้น มีสกุลเงินมากมายที่แต่ละประเทศใช้กัน แต่จะมีสกุลเงินหลักๆ ที่นิยม และยอมรับถือครองไว้ไม่กี่สกุลเงิน แต่ในท้ายที่สุดเริ่มมีสกุลเงินออนไลน์เกิดขึ้น เป็นอีกวิวัฒนาการทางระบบการเงินที่น่าสนใจ ผมคิดว่าเรื่องระบบการเงินตั้งแต่สมัยโบราณของไทย จนถึงปัจจุบันนั้น มีความน่าสนใจศึกษาเรียนรู้ คงได้นำมาแบ่งปันกันเร็วๆ นี้ครับ


พิมพ์เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563


ภาพถ่ายและข้อมูลอ้างอิง:




1 ความคิดเห็น:


บทความที่ได้รับความนิยม 10 อันดับแรกครับ