สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับบทความชุด "ฉันอ่าน" จะถูกนำเผยแพร่ 2 เว็บไซต์ คือ https://booktoblog.blogspot.com/ และ http://preedanoikendezu.blogspot.com/ แต่ผมจะพิมพ์เนื้อหาหลักในเว็บ "อ่าน Book เขียน Blog" เนื่องจากมี 2 อารมณ์ในบทความคือ เกิดจากการอ่าน แต่รวมการใส่อารมณ์ ความคิดส่วนตัวในลักษณะการวิเคราะห์เข้าไปด้วยครับ คราวนี้เรามาถึงต้นเหตุจริงๆ ของการนำเสนอบทความชุดนี้ สืบเนื่องจาก ส่วนตัวเป็นคนขี้สงสัย สงสัยแล้วก็มักหาคำตอบ เช่น ชอบถาม หรือค้นคว้าเพิ่มเติมจนได้คำตอบ นั่นคือการอ่าน นั่นเอง ยิ่งในยุคดิจิตอลนี้ด้วยแล้ว "การถาม" ลดลงไปมาก แต่ "การอ่าน" เข้ามาทดแทนอย่างมากที่สุด ไม่รู้อะไรถามอากู๋ Google ได้ทันที
แต่การสงสัยนี่สิ เดี๋ยวนี้พอ สงสัย 1 เรื่อง สะสมความสงสัยไปอีกหลายเรื่อง เลยกลายเป็นสงสัยแบบองค์รวม เมื่อได้คำตอบจากการสงสัย 1 เรื่อง สะสมจนหลายเรื่อง แต่บังเอิญว่า คำตอบที่ได้จากอีกเรื่องดันไปตอบข้อสงสัยของอีกเรื่องได้ด้วย เลยยิ่งสงสัยเพิ่มเข้าไปใหญ่ แน่นอนว่าหลายๆ เรื่อง พอเราได้คำตอบมา เลยอาจจะกลายเป็นทางออกของปัญหา หรือกลายเป็นข้อเสนอแนะได้เช่นกันครับ ผมจึงอยากเล่าถึง "ความสงสัย" ที่เป็นจุดเริ่มต้นของบทความชุดนี้ครับ ดังนี้
ซึ่งการสะสมความสงสัยโดยประมาณ 8 ข้อที่ได้แบ่งปันไว้นั้น เป็นความสงสัยสะสม สงสัยบางเรื่อง สงสัยตั้งแต่เด็ก บางเรื่องพึ่งสงสัยไม่ถึง 1 เดือน ดังนั้น สำหรับความสงสัยแบบองค์รวมนี้ หรือ ผมขอเรียกว่า "ความสงสัยรวม" แทนละกันนะครับ ผมจะได้ทยอยพิมพ์ให้ได้อ่านในตอนต่อๆ ไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อ่าน สงสัยตามๆ ผมไปก่อน แล้วมาหาคำตอบ เพื่อตอบความสงสัย ไปที่ละเปราะ ร่วมกัน และหวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
คีย์เวิร์ดสำคัญสำหรับตอนที่ 2 ก็คือ "การขุดคลอง" ผมไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องการขุดคลองสักกี่ตอน ขึ้นกับหลายปัจจัย แต่ตอนที่ 2 ผมขอตั้งชื่อบทความว่า "ตอนที่ 2 การขุดคลองที่ส่งผลต่อแม่น้ำเจ้าพระยา" และเพื่อให้บทความนี้ เป็นบทความกึ่งวิชาการ ผมจะอ้างอิงลิงก์บทความ หรืออ้างอิงหนังสือที่ได้อ่านมาประกอบการเขียนบทความ ให้ได้ทราบกัน ซึ่งบทความชุดนี้ก็จะได้เป็นต้นแบบของผลงานสาธารณะที่ผมจะเริ่มทำขึ้นมาไว้เป็นประโยชน์สาธารณะ ที่ผมคาดการณ์ว่าจะต้องใช้เวลาถึง 3 ปีในการลงมือทำครับ
โดยปกติผมจะต้องมีภาพประกอบ จึงขอนำเอาภาพน่ารักๆ ที่ภรรยาแอบถ่ายไว้ มาแปะบนบทความตอนที่ 1 นี้ เป็นภาพตอนที่ผมนอนแล้ว ซึ่งผมนอนท่านี้ประจำมากว่า 18 ปีแล้ว ผมไม่ได้นอนหงายแบบคนปกติทั่วไป อารมณ์และความจำเป็นเรื่องนี้จะแบ่งปันในโอกาสที่เหมาะสม แต่เพราะนอนท่านี้ละครับ ทำให้ผมไม่ลดละความพยายามที่จะพิมพ์บทความให้ได้อ่านกันตลอดเวลา เช่นเคยนะครับ กับแนวคิดสำคัญของผมที่คิดว่า
"หากบทความแต่ละบทความจะเป็นประโยชน์กับใครสักคนเพียง 1 คน ก็คุ้มค่ากับการลงมือทำของผมแล้วครับ"
แต่การสงสัยนี่สิ เดี๋ยวนี้พอ สงสัย 1 เรื่อง สะสมความสงสัยไปอีกหลายเรื่อง เลยกลายเป็นสงสัยแบบองค์รวม เมื่อได้คำตอบจากการสงสัย 1 เรื่อง สะสมจนหลายเรื่อง แต่บังเอิญว่า คำตอบที่ได้จากอีกเรื่องดันไปตอบข้อสงสัยของอีกเรื่องได้ด้วย เลยยิ่งสงสัยเพิ่มเข้าไปใหญ่ แน่นอนว่าหลายๆ เรื่อง พอเราได้คำตอบมา เลยอาจจะกลายเป็นทางออกของปัญหา หรือกลายเป็นข้อเสนอแนะได้เช่นกันครับ ผมจึงอยากเล่าถึง "ความสงสัย" ที่เป็นจุดเริ่มต้นของบทความชุดนี้ครับ ดังนี้
- ผมเคยสงสัยว่าทำไม แม่น้ำเจ้าพระยาถึงสั้นจังกว่าแม่น้ำหลายสายในประเทศไทย และผมก็ยังสงสัยอีกว่า
- ทำไมน้ำเค็มถึงดันขึ้นมาถึงจังหวัดปทุมธานีได้ ในช่วงหน้าแล้ง เช่น ช่วงเวลานี้ที่ผู้เขียนกำลังพิมพ์บทความอยู่ ปี 2563 ที่ว่ากันว่า ประเทศไทยจะแล้งที่สุดในรอบ 40 ปี
- ผมสงสัยตกค้างมานานแล้วว่า ทำไมคลองบางคลองในไทยถึงได้ใหญ่โต
- อีกข้อสงสัยของผมคือ ทำไมตรงบริเวณเกาะเกร็ด ถึงได้เป็นเกาะเกร็ด ธรรมชาติสร้างเกาะเกร็ดมาเองเลยหรือ ช่างมหัศจรรย์จัง
- ผมอาศัยอยู่บางบัวทอง ซึ่งใกล้บางใหญ่ ทำไมในเวิ้งบางใหญ่ถึงมีวัดเยอะมากๆ
- เหตุใดการขุดค้นพบซากเรือสำเภาแถวบริเวณไทรม้า จากการจุดตอหม้อทำรถไฟฟ้า ซากเรือสำเภามาอยู่ตรงนี้ได้ยังไง
- ทำไมคูคลองในเขตกรุงเทพฯ และนนทบุรี ถึงเยอะมากมาย
- การงมหาสมบัติแถวบริเวณคลองต่างๆ ในเขตนนทบุรี ถึงพบวัตถุโบราณเยอะ
ซึ่งการสะสมความสงสัยโดยประมาณ 8 ข้อที่ได้แบ่งปันไว้นั้น เป็นความสงสัยสะสม สงสัยบางเรื่อง สงสัยตั้งแต่เด็ก บางเรื่องพึ่งสงสัยไม่ถึง 1 เดือน ดังนั้น สำหรับความสงสัยแบบองค์รวมนี้ หรือ ผมขอเรียกว่า "ความสงสัยรวม" แทนละกันนะครับ ผมจะได้ทยอยพิมพ์ให้ได้อ่านในตอนต่อๆ ไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อ่าน สงสัยตามๆ ผมไปก่อน แล้วมาหาคำตอบ เพื่อตอบความสงสัย ไปที่ละเปราะ ร่วมกัน และหวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
คีย์เวิร์ดสำคัญสำหรับตอนที่ 2 ก็คือ "การขุดคลอง" ผมไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องการขุดคลองสักกี่ตอน ขึ้นกับหลายปัจจัย แต่ตอนที่ 2 ผมขอตั้งชื่อบทความว่า "ตอนที่ 2 การขุดคลองที่ส่งผลต่อแม่น้ำเจ้าพระยา" และเพื่อให้บทความนี้ เป็นบทความกึ่งวิชาการ ผมจะอ้างอิงลิงก์บทความ หรืออ้างอิงหนังสือที่ได้อ่านมาประกอบการเขียนบทความ ให้ได้ทราบกัน ซึ่งบทความชุดนี้ก็จะได้เป็นต้นแบบของผลงานสาธารณะที่ผมจะเริ่มทำขึ้นมาไว้เป็นประโยชน์สาธารณะ ที่ผมคาดการณ์ว่าจะต้องใช้เวลาถึง 3 ปีในการลงมือทำครับ
โดยปกติผมจะต้องมีภาพประกอบ จึงขอนำเอาภาพน่ารักๆ ที่ภรรยาแอบถ่ายไว้ มาแปะบนบทความตอนที่ 1 นี้ เป็นภาพตอนที่ผมนอนแล้ว ซึ่งผมนอนท่านี้ประจำมากว่า 18 ปีแล้ว ผมไม่ได้นอนหงายแบบคนปกติทั่วไป อารมณ์และความจำเป็นเรื่องนี้จะแบ่งปันในโอกาสที่เหมาะสม แต่เพราะนอนท่านี้ละครับ ทำให้ผมไม่ลดละความพยายามที่จะพิมพ์บทความให้ได้อ่านกันตลอดเวลา เช่นเคยนะครับ กับแนวคิดสำคัญของผมที่คิดว่า
"หากบทความแต่ละบทความจะเป็นประโยชน์กับใครสักคนเพียง 1 คน ก็คุ้มค่ากับการลงมือทำของผมแล้วครับ"
พิมพ์เมื่อ 14 มกราคม 2563
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น