2020-01-15_บทความชุด "ฉันอ่าน" ตอนที่ 2 การขุดคลอง (สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยา) @ 15 มกราคม 2563

สวัสดีครับทุกท่าน สำหรับที่มาต้นเหตุของการพิมพ์บทความ "ฉันอ่าน" ที่มาจาก "ความสงสัยรวม" ผมอารัมภบทไปแล้วในตอนแรก สำหรับตอนที่ 2 นี้ ผมขอท้าวความถึงบทความที่ได้ไปทำบุญขึ้นปีใหม่เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ว่าทำให้ผมพึ่งทราบว่า คลองอ้อมนนท์ คือ แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า และมีการขุดคลองตรงบริเวณปากคลองอ้อมนนท์ ลัดตรงมาถึงวัดเขมาภิรตาราม ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยากว่า 400 ปี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเดินของแม่น้ำเป็นเช่นปัจจุบันนี้ แน่นอนว่านอกจากผมพึ่งรู้เรื่องนี้ ทำให้ได้คำตอบอีกหลายเรื่องตาม ซึ่งจะได้พิมพ์แทรกในบทความแต่ละตอนต่อไป อีกมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมเริ่มสนใจพิมพ์บทความชุด "ฉันอ่าน" คือ ตอนที่พิมพ์บทความพาภรรยาไปแก้บนที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองปทุมธานี เพราะคดีอาญาที่ผมถูกฟ้อง ท่านผู้พิพากษาท่าน "ยกฟ้อง" เมื่อค้นประวัติศาลเจ้าพ่อหลักเมืองปทุมธานี  ก็แปลกใจกับการย้ายศาลหลักเมืองปทุมธานีถึง 8 ครั้ง

ซึ่งพบว่าการย้ายครั้งที่ 1 จากปากคลองบ้านพร้าว ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา (ตะวันออก) ไปยังบ้านสามโคก ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา (ตะวันตก) ผมจึงตามไปดูว่า ในระบบแผนที่ ปากคลองบ้านพร้าวอยู่ตรงบริเวณใดของจังหวัดปทุมธานี แล้วสืบค้นประวัติต่อ พบว่าบริเวณปากคลองบ้านพร้าวก็เป็นอีกคลองหนึ่งที่ในอดีตเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า แต่มมีการขุด "คลองลัด" ขึ้นมา แต่่มีข้อมูลในเรื่องนี้ไม่มาก ทำให้ผมสนใจเรื่องการขุดคลองลัด ตลอดลำน้้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา เหตุผลสำคัญอันดับต้นๆ ที่ผมมั่นใจว่าเป็นเหตุสำคัญคือ กษัตริย์ในแต่ละยุค โดยเฉพาะในยุคของกรุงศรีอยุธยา มีการค้าขายกับต่างชาติ จึงไม่ต้องการให้ต่างชาติเสียเวลาเดินทางอ้อมไปตามลำน้ำสายเก่า ผมดูจากแผนที่ก็อ้อมจริงๆ ครับ ยกตัวอย่างเช่น คลองอ้อมนนท์ ที่มีระยะทาง 16 กม. เมื่อขุดคลองลัดตรงมายังวัดเขามาภิรตาราม สามารถลัดตรงได้เหลือเพียง 5 กม.



River Festival 2018 “สุข แสง ศิลป์” ลอยกระทง 9 ท่าน้ำเจ้าพระยา

ผู้อ่านจะเห็นว่า การที่เราสงสัยอะไรสักเรื่อง เมื่อสืบค้นจนได้คำตอบแล้ว แต่พอเรื่องนั้นได้คำตอบแล้ว ก็มักจะซ่อนคำถามหรือข้อสงสัยต่อเนื่องมาอีก อยู่ที่ว่าเราจะหยุดหาคำตอบหรือไม่ ดังนั้น บทความชุด "ฉันอ่าน" จึงเป็นอีกงานหนึ่งที่ส่วนตัวอยากทำขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับหลายๆ คนที่อาจจะมาสนใจตรงกับที่ผมสงสัยพอดีครับ

หลังจากที่อ่านหลายๆ ข้อมูล แอบดีใจว่า ประเทศไทยคลองเยอะมากๆ แม่น้ำ คลองหลัก คลองสาขา เพียบ แอบนึกไปถึงว่า ชุมชนต่างๆ มีข้อเสนอมายังรัฐบาลมากมายในการขอขุดลอกคลองแบบจริงจัง ถ้ามีน้ำท่วม น่าจะระบายน้ำลงทะเลได้ทันท่วงที สำหรับตอนที่ 2 นี้ ผมจึงอยากกล่าวถึงการขุดคลองสำคัญๆ ตลอดลำน้ำเจ้าพระยา แล้วส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินน้ำ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ครั้งครับ
  • ครั้งที่ 1 การขุด "คลองลัดบางกอก" กว่า 500 ปี ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
  • ครั้งที่ 2 การขุด "คลองลัดเกร็ดใหญ่" กว่า 450 ปี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
  • ครั้งที่ 3 การขุด "คลองลัดเมืองนนท์" กว่า 400 ปี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
  • ครั้งที่ 4 การขุด "คลองลัดเกร็ดน้อย" กว่า 300 ปี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
  • ครั้งที่ 5 การขุด "คลองลัดโพธิ์" กว่า 300 ปี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ
แต่ละครั้งที่มีการขุดคลองลัดนั้น มีเรื่องราวที่น่าสนใจ โดยผมจะค้นคว้าเกร็ด  หรือเรื่องเล่า หรือข้อมูลที่มีการบันทึก หรือการวิเคราะห์ ส่วนตัว เข้าไปด้วย บางแห่งผมอาจจะเดินทางไปเที่ยวไปด้วยในตัวครับ ดังนั้นจากนี้ไป คงจะพิมพ์บทความ "ฉันอ่าน" ให้ได้อ่านกันแบบห่างๆ เนื่องจากหลังจากวันนี้ไป ผมจะมีงานเอกสารเยอะมากๆ ครับ

สำหรับตอนที่ 3 ผมขอพาทุกท่านไปที่ "การขุดคลองลัดบางกอก" ก่อนเป็นลำดับแรก เพราะมีเรื่องสืบเนื่องกันหลายเรื่องที่ผมอยากแบ่งปัน และที่สำคัญคือ ใกล้ฤกษ์ดวงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว อีกด้วยครับ

พิมพ์เมื่อ 15 มกราคม 2563


ข้อมูลอ้างอิง:

ภาพถ่ายแม่น้ำเจ้าพระยา:




2 ความคิดเห็น:


บทความที่ได้รับความนิยม 10 อันดับแรกครับ